นกเงือกปากดำ/Bushy-crested Hornbill (Anorrhinus galeritus)

สิ่งที่น่าสนใจ :

ตัวเต็มวัยสีสันของร่างกายจะออกเป็นสีดำ โคนหางประมาณ 2 ใน 3 ของความยาวทั้งหมดจะเป็นสีจางกว่าบริเวณอื่นๆ หรือเป็นสีเทาแกมน้ำตาล กระหม่อมมีขนยาวสีดำเป็นพุ่มคล้ายหงอน ปากสีดำ บางครั้งตัวเมียปากเป็นสีงาช้าง โหนกแข็งขนาดเล็ก ผิวหนังบริเวณคอหอยสีน้ำเงิน หนังรอบตาสีน้ำเงินหรือขาว ตัวยังไม่เต็มวัยจะมีลายแต้มสีน้ำตาล ท้องสีขาว

ถิ่นอาศัย :

นกเงือกปากดำมีถิ่นกำเนิดตามเทือกเขาตะนาวศรี ไทย มาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว สำหรับประเทศไทยมีเฉพาะภาคใต้ พบตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่พื้นที่ราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล

อาหาร :

นกชนิดนี้กินผลไม้ โดยเฉพาะลูกไทร ลูกหว้า ลูกตาเสือ และแมลงต่างๆ รวมทั้งสัตว์เล็ก ๆ เช่น กิ้งก่า แย้ งู หนู

พฤติกรรม :

มักพบเป็นฝูงเล็กๆ ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ แต่ในฤดูผสมพันธุ์พบโดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ๆ เป็นนกที่ร้องเสียงแหลมและดัง สามารถได้ยินในระยะไกลๆ มักเกาะอยู่บนยอดไม้สูง เป็นนกค่อนข้างเปรียว เข้าไปใกล้ได้ยาก ชอบอยู่เป็นฝูง ทำรังในโพรงไม้และมักทำรังอยู่ที่เดิมตลอดไป แต่จะซ่อมแซมใหม่อยู่เสมอ

สถานภาพปัจจุบัน :

สัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปีพ.ศ. 2535 ,สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์จัดให้เป็นสัตว์ที่มีความเสี่ยงน้อยต่อการสูญพันธุ์

วัยเจริญพันธุ์ :

ผสทพันธุ์ในช่วงฤดูร้อน หรือระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ทำรังตามโพรงของต้นไม้ ตัวเมียจะปิดปากโพรงด้านในด้วยยางไม้ผสมมูลของตนเอง และโคลน ขณะที่ตัวผู้จะใช้วัสดุอย่างเดียวกันปิดปากโพรงทางด้านนอก เหลือไว้เพียงให้ตัวเมียยื่นปากออกมาจากโพรงเพื่อรับอาหารได้เท่านั้น เมื่อปิดปากโพรงแล้วตัวเมียจะเริ่มออกไข่และฟักไข่ ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนตัวเมีย นอกจากนี้ยังมีนกเงือกปากดำอย่างน้อย 3 ตัว และอาจมากถึง 5 ตัว ช่วยกันหาอาหารมาป้อนตัวเมีย และลูกๆ ที่ถูกฟักออกจากไข่แล้วแต่ยังอยู่ในโพรง

ขนาดและน้ำหนัก :

เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ (87-89 ซม.)

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560